หน่วยที่ 3 ระบบสารสนเทศ
บทที่
3
ระบบสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology : IT ) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( Information and Communication : ICTs ) ก็คือเทคโนโลยีสองด้าหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทตโนโลยี 2 สาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ( Hardware ) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ ( Software )
ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
อุปกรณ์รัข้อมูล ( Input ) เช่น แผงแป้นอักขระ ( KeyBoard ), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ ( Scanner ) , จอภาพสัมผัส ( Touch Scareen ), ปากกาแสง ( Light Pen ), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก ( Magnetic Strip Reader ), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง ( Bar Code Reader )
อุปกรณ์ส่งข้อมูล ( Output ) เช่น จอภาพ ( Monitor ), เครื่องพิมพ์ ( Printer ), และเทอร์มินัล
หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่ววความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสังโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูล รวมทั้งเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวณผล
หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งานเพื่อการใช้ในอนาคต
ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบี่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอรืในขณะประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน แบะทันกาล ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข ( Number Data ) ตัวอักษร ( Text ) ภาพ ( Image ) และเสียง ( Voice )
นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบดังนี้ต่อไปนี้ คือ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร
เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประการที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัตน์
ประการที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อใโยงกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย
ประการที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส แบะสามารถตอบสนองความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่ 6 เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้นอีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
ประเภทของระบบสารสนเทศ
ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนดลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาาจจะแตกต่างกัน ดังนั้น ระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน ( Operational-level systems ) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วยปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่าง ๆ องขององค์กร
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ ( Knowledge-level systems ) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูลวัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ( Management-level systems ) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม กราตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ ( Strategic-level systems ) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น