ระบบสารสนเทศทางการตลาด
Laudon and Laudon ได้ให้นิยามว่า ระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึง ระบบที่ใช้สนับสนุนกิจกรรมของหน้าที่งานด้านการขายและการตลาด
คอตเลอร์ได้ให้นิยามไว้ว่า ระบบสารสนเทศทางการตลาด หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยคน เครื่องมืออุปกรณ์และกระบวนการเก็บรวบรวม จำแนกแยกประเภทวิเคราะห์ประเมิน ตลอดจนการแจกจ่ายสารสนเทศที่ถูกต้องแม่นยำ ทันเวลาและตรงตามความต้องการ มีระบบย้่อย ดังนี้
ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ
ระบบอัจฉริยะทางการตลาด
ระบบวิจัยการตลาด
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด
ระบบพยากรณ์ยอดขายหลักการตลาด
1. ความหมาย
คอตเลอร์และอาร์มสตรองได้ให้นิยามว่าการตลาด หมายถึง กระบานการทางสังคมและการจัดการที่มุ่งเสนอถึงความจำเป็น และความต้องการให้กับบุคคลและกลุ่มต่าง ๆ โดยอาศัยการสร้างสรรค์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนคุณค่าและผลิตภัณฑ์ให้กับผู้อื่น
สรุปได้ว่า ปัจจุบันองค์การธุรกิจมีการใช้ปรัชญาทางการตลาด 2 แนวทาง คือปรัชญาด้านการตลาดและปรัชญาด้านการตลาดเพื่อสังคม ซึ่งประกอบด้วยหลักการ 3 ข้อ ดังนี้
จะต้องมีการตอบสนอง และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
จะต้องมีการบูรณาการและความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์การ
จะต้องมีการมุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จในระยะยาว และการให้ความสำคัญกับการจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อองค์การ
2. องค์ประกอบทางการตลาด
2.1 การแลกเปลี่ยนทางการตลาด
2.2 กลยุทธ์ทางการตลาด
2.3 กิจกรรมทางการตลาด
2.4 จำแหน่งงานทางการตลาด
2.5 สถาบันทางการตลาด
3. การส่งมอบคุณค่าเพื่อลูกค้า
3.1 การเลือกคุณค่าในส่วนนี้ต้องทำการวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของลูกค้า
3.2 การจัดหาคุณค่า ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมการตลาดในส่วนของผลิตภัณฑ์ ราคา และช่องทางการจำหน่าย
3.3 การสื่อสารคุณค่า ในส่วนนี้องค์การต้องอาศัยกระบวนการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดในส่วนการการสื่อสารการตลาดเข้าช่วย เพื่อสื่อสารถึงข้อดีของผลิตภัณฑ์
4. บทบาททางการตลาด
4.1 ช่วยแก้ปัญหาด้านผลการดำเนินงานขององค์การที่ประสบภาวะขาดทุน โดยดำเนินโปรแกรมการตลาด
4.2 ช่วยแก้ปัญหาด้านการครอบครองส่วนแบ่งตลาดที่เพิ่มขึ้น โดยมีแนวโน้มของการควบรวมบริษัทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
4.3 ช่วยให้พนักงานที่มีพื้นฐานและประสบการณ์ทางการตลาดประสบผลสำเร็จและมีความก้าวหน้าในอาชีพในฐานะผู้บริหารระดับสูงของกิจการสารสนเทศทางการตลาด
1. ความหมาย
สารสนเทศทางการตลาด หมายถึง สารสนเทศที่ได้จากการประมาลผลของระบบสารสนเทศทางการตลาด ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลและสารสนเทศทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ โดยใช้กิจกรรมสนับสนุนทางการตลาดทั้งในส่วนของการพัฒนาผลิตภัณฑ์การจัดจำหน่าย การตั้งราคาผลิตภัณฑ์ การตัดสินใจทางการตลาด การสื่อสารทางการตลาด และการพยากรณ์ยอดขาย
2. ประเภท
2.1 สารสนเทศเชิงปฏิบัติ ได้รับจากการปฏิบัติงานด้านการตลาดเพื่อสร้างยอดขายของธุรกิจ
2.1.1 สารสานเทศด้านลูกค้า
2.1.2 สารสนเทศด้านการขาย
2.1.3 สารสนเทศด้านสินค้า
2.2 สารสนเทศเชิงบริหาร ใช้สนับสนุนงานการบริหารการตลาด และการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาด
2.2.1 สารสนเทศด้านพัฒนา
2.2.2 สารสนเทศด้านการสื่อสารด้านการตลาด
2.2.3 สารสนเทศด้านการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ
2.2.4 สารสนเทศด้านการพยากรณ์ยอดขาย
2.3 สารสนทเศภายนอกองค์การ ได้มาจากการะบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสภาพแวดล้อมภายนอก
2.3.1 สารสนเทศด้านการวิจัยตลาด
2.3.2 สารสนเทศด้านข่าวกรองทางการตลาด
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
1. ระบบระเบียนข้อมูลในกิจการ คือระบบการบันทึกข้อมูลพื้นฐานในองค์การซึ่งนำมาใช้กับการดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2. ระบบอัจฉริยะทางการตลาด คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวมข่าวกรองทางการตลาด ที่เกี่ยวข้องกับคู่เเข่งและสภาพแวดล้อมทางการตลาด เพื่อนำมาตัดสินใจทางกลยุทธ์ และประเมินสถานการณ์ทางการแข่งขัน
3. ระบบวิจัยการตลาด คือระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สนับสนุนด้านการวิจัยการตลาด ดดยการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องศึกษาอย่างเป็นทางการในสถานการณ์ที่เฉพาะเจาะจง
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการตลาด คอตเลอร์ได้นิยามไว้ว่าการนำเอาซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาใช้ในการเก็บข้อมูล วางระบบโดยการประสานกันของเครื่องมือทา
สถิติ ตัวแบบและเทคนิคเชิงปริมาณ เพื่อช่วยให้องค์การสามารถเก็บรรวบรวม เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานของการดำเนินการด้านการตลาดต่อไปเทคโนโลยีทางการตลาด
1. โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการตลาด คือซอฟต์แวร์เชิงพณิชย์ประเภทหนึ่งที่วางขายอยู่ในตลาดซอฟต์แวร์ ถูกพัฒนาขึ้นใช้เฉพาะงานด้านการตลาด และจำเป็นต้องใช้ร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
1.1 โปรแกรมสำเร็จรูปด้านการขาย ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ระบบการขายและรับชำระเงิน
1.2 โปรแกรมจัดการลูกค้าสัมพันธ์ คือโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่นำมาซึ่งการสร้างความสัมพันธ์เชิงธุรกิจกับลูกค้าในระยะยาว วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์การ
1.3 โปรแกรมบริหารการขนส่ง คือการจัดการขนส่งเพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ถึงมือลูกค้า
2. นวัตกรรมด้านร้านค้าปลีก ปัจจุบันมีการจัดร้านค้าปลีกรูปแบบใหม่โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยอำนวยความสะดวกด้านการเลทอกซื้อสินค้า การตรวจสอบและรับชำระค่าสินค้า ซึ่งเป็นการลดกระบวนการซื้อและลดระยะเวลาการรอคอย
3. หน่วยขายอัตโนมัติ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขายของพนักงานขาย โดยอยู่ในรูปแบบของการใช้มือถือเคลื่อนที่ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลของบริษัทได้
4. การใช้งานอินทราเน็ต โดยใช้ในการควบคุมและติดต่อประสานงานในส่วนกิจกรรมขาย นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคำสั่งซื้อของลูกค้า ข้อมูลการจัดส่งสินค้าและรับชำระเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายผ่านอินทราเน็ตด้วย
5. การใช้งานอินเทอร์เน็ต ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าบนเว็บ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ณ ที่บ้าน หรือสำนักงานของลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องใช้พนักงานขาย
5.1 การพณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการนำเสนอสินค้าหรือบริการแก่ลูกค้าด้วยระบบดิจิตอลแลละยังเพิ่มเปอร์เซ็นต์การขายผลิตภัณฑ์จากผลิตภัณฑ์ปรกติ
5.2 การสื่อสารการตลาด สามารถเข้าถึงคนจำนวนมากด้วยวิธีการง่าย ๆ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการสื่อสาร เพื่อใช้ส่งข่าวสารต่อลูกค้าในเชิงโต้ตอบ
5.3 การโฆษณาออนไลน์ เพื่อโฆษณาและขายผลิตภัณฑ์ ผลดีคือช่วยลดค่าใช้จ่าย
5.4 การอีเมล์ มีการรับส่งข่าวสารที่รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ
5.5 ตลาดอิเล็กทรอนิกส์ เป็นแหล่งรวมของผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขาย มีจุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกัน
5.6 การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบส่งเสริมการขายของธุรกิจที่พกพาอุปกรณ์สื่อสารเข้ามา ณ บริเวณใกล้เคียงกับสำนักงานของบริษัท
5.7 การพาณิชย์แบบร่วมมือ ทันสมัยที่สุด และเปิดโอกาสให้หลายกิจกรรมทำงานร่วมกันแบบออนไลน์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ก่อให้เกิดรายได้
6. การทำเหมืองข้อมูลทางการตลาด การทำข้อมูลโกดังร่วมกับข้อมูลสารสนเทศทางการตลาด จะช่วยสร้างชุดเครื่องมือปรับการปฏิบัติการดีเลิศ สำหรับงานด้านการขายและการตลาด สร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันให้ธุรกิจ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น