บทที่ 6 คอมพิวเตอร์กับงานด้านการบัญชี

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
           
1.  แนวคิดระบบสารสนเทศทางการบัญชี
           
Romney and Steinbart ( 2003, p.2 )  จำกัดความไว้ว่า  ระบบสารสนเทศทางการบัญชีคือ  ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วย  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ทรัพยากรมนุษย์  และนโยบายของบริษัท  เน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดขากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังนี้
การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของธุรกิจ
เน้นการประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์  กางวางแผน  กางสั่งการ  และการควบคุม
การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของธุรกิจเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วนถูกต้อง  และเชื่อถือได้

           
2.  ความหมายของการบัญชี
           
อฟเอเอสบี ( FASB,  อ้างถึงใน พลพูธ ปิยวรรณ  และสุภาพร เชิงเอี่ยม,  2545, หน้า 5 )  ระบุว่า  การบัญชี  คือระบบสารสนเทศระบบหนึ่ง  มีหน้าที่เก็บรวบรวม  บันทึกและจัดเก็บรายการค้าและเหตุการณ์ต่าง ๆ  เพื่อใช้เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้น  พร้อมมีการนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ
           จากความหมายขั้นต้น  การบัญชี  คือระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้  มี  4 ขั้นตอนดังนี้
           
ขั้นตอนที่  1           การจดบันทึก
          
 ขั้นตอนที่  2           การจำแนก
           
ขั้นตอนที่  3           การสรุปผล
           
ขั้นตอนที่  4           การวิเคาระห์
และแปลความหมาย


ประเภทการบัญชี
           
สามาารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น  2 หมวดคือ
           
1  การบัญชีการเงิน  คือการจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฏจักรการบัญชี  มีการสน้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของข้อมูลธุรกิจ  เริ่มตั้งแตการจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบึนทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่านรายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภท  จากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลา


           
2  การบัญชีบริหาร  คือการนำข้อมูลทางการเงินมาจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตามความต้องการของผู้ใช้  กำหนดรูปแบบของรายงายไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงาน  หรือผู้บริหารระดับต่าง ๆ ขององค์กร  โดยส่วนใใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงานหลัการบัญชี
           หลักการบัญชี  คือมีการนำเสนอสารสนเทศที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางขอผู้ใช้งบการเงิน  ด้วยเหตุนี้ธุรกิจต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและ  มีความสอดคล้องกับหลักบัญชีที่รับรองทั่วไป  สามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ ดังนี้
           1.  หลักการดำรงอยู่ของกิจการ
           2.  
หลกความเป็นหน่วยงานของกิจการ
           3.  หลักงวดเวลาบัญชี
           4.  หลักการจำแนกประเภทบัญชี  จำแนกออกเป็น  5 หมวดดังนี้
                      4.1  สินทรัพย์
                      4.2  หนี้สิน
                      4.3  ส่วนของเจ้าของ
                      4.4  รายได้
                      4.5  ค่าใช้จ่าย
           5.  หลักการคู่บัญชี  หรือการบันทึกรายการเปลี่ยนแปลง 2 ครั้ง หรืออ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของราการค้า
                      5.1  ด้านเดบิต
                      5.2  ด้านเครดิต
           6.  หลักการใช้หน่วยเงินตรา
           7.  หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม
           8.  
หบักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย  มีได้  2 วิธี คือ
                      8.1  เกณฑ์เงินสด
                      8.2  เกณฑ์คงค้าง
           9.  
หลัักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่าย
           10.  หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์


สารสนเทศทางการบัญชี
           
1.  แนวคิด
           สารสน
เทศางการบัญชี  คือ  สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือระบบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช่งบการเงินและกรมสรรพากร  และในส่วนการบัญชีบริหาร  คือรายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่าง ๆ รายงานงบประมาณ  ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลัดฐานทางการเงิน  ดังนี้
           ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์กร
           ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ
           ช่วยเป็น
เครื่องมือสนุบสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ
           ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี
           ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
           ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้


      
     2.  การจำแนกประเภท
           การจำแนกประเภท  แบ่งออกเป็น  3 ประเภท คือ
           1.  เอกสารทางการบัญชี  คือหลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชี  มีจุดเริ่มต้น  ตั้งแต่เอกสารที่ระบบแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึกข้อมูลก่อนที่จะออกงบทางการเงินจำแนกได้  4 ประเภท  ดังนี้
                      1.1  เอกสารขั้นต้น
                      1.2  สมุดรายวัน
                      1.3  บัญชีแยกประเภท
                      1.4  งบทดลอง


           2.  รายงานทางการเงิน  คือรายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน  หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงายทางการเงินแบ่งออกเป็น  2 ส่วนคือ
                      2.1  
งบบการเงิน
                      2.2  รางานภาษีมูลค่าเพิ่ม


           3.  รายงานทางการบริหาร  คือรายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ได้จากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและบริหารภายในองค์การ  การกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้
                      3.1  รายงานด้านงบประมาณ
                      3.2  รายงานด้านการบัญชีต้นทุน
                      3.3  รายงานวิเคราะห์งบการเงิน
กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ
           
Hall  ระบุถึงการรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี  3  ระบบ ดังนี้
ระบบประมวลผลธุรกรรม  คือระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน
ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน  คือระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน
ระบบรายงานทางการบริหาร  คือระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ
           การประมวลสารสรเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์
จากบัยชีแยกประเภทเพื่อตอลสนองความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร  สามารถแยกได้  5 ระบบ ดังนี้


           
1.  ระบบประมวณผลธุรกรรม  มัลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในแต่ละวันทำการ  การเกิดขึ้นซ้ำของธุรการนี้เรียกว่า  วัฏจักรรายการค้า
           พล
พูธ ปิยวรรณ  และสุภาพวรรณ เชิงเอี่ยม  จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น  4 ประเภทคือวัฏจักรรายจ่ายวัฏจักรรายได้วัฏจักรการแปลวงสภาพวัฏจักรการบริหารจัดการ
           
2.  ระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายธุรกิจ  กระบวนการของระบบเชื่อมโยงข้อมูลภายในธุรกิจอธิบายไได้โดยใช้แผนภาพกระแสข้อมูลที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของระบบสารสรเทศทางการบัญชีที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ  โดยการรับเข้าธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจากระบบสารสนเทศอื่นเพื่อมาประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีซึ่งผลลัพธ์ที่ได้  คือสารสนเทศทางการบัญชี  อธิบายได้ดังนี้
ระบบสารสนเทศทางการผลิตจะส่งธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการซื้อวัตถุดิบและการผลิตสินค้าเข้าสู่ระบบ
ระบบสารสนเทศทางการตลาดจะส่งธุรกรรมการขายสินค้าเข้าสู่ระบบ
ระบบสารสนเทศทางการเงินจะส่งธุรกรรมการรับและจ่ายเงินสดเข้าสู่ระบบ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์จะส่งธุรกรรมการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของการบริหาร
ทรัพยกรมนุษย์เข้าสู่ระบบ
ผู้จัดการงานจะส่งรายการปรับปรุง
บัยชีและงบประมาณเข้าสู่ระบบ
ผู้ใช้รายงานจะรับรายงานทางการเงินและการบริหารที่ออก
จจากระบบ
       
    3.  ระบบบัญชีแยกประเภท
การบันทึกรายการปรับปรุงเป็นขั้นตอนการนำเข้ารายการปรับปรุงบัญชีอาจจะเป็นการปรับปรุงข้อผิดพลาดที่พบในการ
เชือมโยงข้อมูลจากระบบสารสนเทศอื่น
การผ่านรายการบัญชี  เป็นขั้นตอนของการโอนรายการจากบัญชีสมุดรายวันทั่วไปสู่แยกประเภท
การปรับปรุง
ยอดคคงเหลือหลังจากที่ระบบมีการผ่านข้อมูลัญชีเรียบร้อย  ระบบจะทำการปรับปรุงยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องแต่ละบัญชีภายในแฟ้มงบทดลองให้เป็นปัจจุบัน
การออกรายงานการผ่านบัญชีเป็นขั้นตอนการออกรายงานที่ได้จากการผ่านรายการบัญชี
  
         4.  ระบบออกรายงานทางการเงิน
การประมวลผลรายงาน
การพิมพ์รายงานเป็นขั้นตอนหลังจากการประมวลผลรายงานเรียบร้อยแล้ว
การปิดบัญชีเป็นขั้นตอนหลังออกรายงานทางการเงินเรียบร้อยแล้ว
         
  5.  ระบบออกรายงานทางการบริหาร
การจัดเตรียมรูปแบบรายงาน
การประมวลผลรายงาน
การพิมพ์รายงาน
เทคโนโลยีทางการบัญชี
          
 1.  โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี
           โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี  คือโปรแกรมที่เน้นการบันทึก  การประมวลผลและการนำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมโดยมีการบันทึกข้อมูลรายวัน  การผ่านบัญชีไปสมุดแยกประเภท  การรายงานสรุปผลในงบการเงินต่าง ๆ  ผลลัพธ์ของโปรแกรมอาจอยู่ในรูปแบบเอกสาร  หรือรายงานต่าง ๆ มีคุณสมบัติดังนี้
มีองค์ประกอบพื้นฐานของโปรแกรมครบถ้วน
มีโปรแกรมอรรถประโยชน์ด้านการกำหนดขนาดแฟ้มข้อมูล
มีความสามารถของโปรแกรมในการเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการที่มีขีดความสามารถในการทำงานสูง
มีความสามารถในการเชื่อมต่อข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบลูกข่าย
แม่ข่าย
เป็นโปรแกรมที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง
มีระบบการกำหนดรหัสผ่านหลายระดับ
มีการสร้างแฟ้มหลัก
รวมทั้งการปรับปรุงข้อมูลในแฟ้มหลัก
มีระบบการเข้ารับข้อมูลและตรวจทานการรับเข้าข้อมูล
การป้อนข้อมูลทางหน้าจออยู่ในลักษณะของการรับข้อ
มุลได้มากกว่าหนึ่งรายการ
มีระบบก้องกันการผ่านบัญชีที่ผิดพลาด
มีความยืดหยุ่นทางการปิดงวดบัญชี
มีโปรแกรมพิมพ์แบบฟอร์มเอกสารหรือรายงาน
การโอนย้ายข้อมูลภายในระบบสร้างความคล่องตัวให้กับผู้ใช้ข้อมูล
           
2.  การนำเสนองบทางการเงินอินเตอร์เน็ต
           งบการเงิน  คือรายงานทางกรเงินที่นำเสนอต่อผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ  การนำเสนองบทางการเงินทางอินเตอร์เน็ตเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเชื่อมโยงงบการเงินได้กว้างไกลทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน


           
3.  โปรแกรมการวางแผนทรัพยากรองค์กร
           โปรแกรมสำเร็จรูปที่ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานแบบลูกข่าย แม่ข่าย  โดยการเชื่อมต่อกระบวนการทางธุรกิจภายในองค์การ  ในส่วนการประมวลผลธุรกรรมของระบบสารสนเทศทางธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยมีการใช้หลักฐานข้อมูลรวมขององค์การเพียงข้อมูลเดียวและมีการนำเข้าข้อมูลเพียงครั้งเดียวผู้ใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ


หลักการพื้นฐานในการจัดทำสารสนเทศทางการบัญชี
           ประกอบด้วย
หลกการขั้นพื้นฐานอยู่  5 ขั้นตอน  คือ
                      ขั้นที่  1           รวบรวมเอกสารขั้นต้นที่ใช้เป็นหลักฐานประกอบการบันทึกรายการค้า
                      ขั้นที่  2           บันทึกรายการค้าลงในสมุดรายวัน
                      ขั้นที่  3           ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท
                      ขั้นที่  4           จัดทำงบทดลอง
                      ขั้นที่  5           จัดทำรายงานการเงินแลพรายงานเพื่อการบริหาร


ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชี
ให้ข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวัน  เช่น  รายงานการค้า  สินค้าแยกตามสายผลิตภัณฑ์  รายงานสินค้าคงเหลือ  รายงานเงินสดรับ - จ่ายประจำวัน
ให้ข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ  วางแผน  และควบคุมการดำเนินงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว  เช่น  การจำทำรายงานยอดขายรายเดือน  เปรียบเทียบกับยอดขายรายเดือนของงวดก่อนเพื่อวิเคราะห์
ให้ขอมูลขั้นพื้นฐานตาม
กฏหมายกำหนดแก่ผู้ใช้ภายนอก  ประกอบด้วยตัวเลขในงบดุล  งบกำไรขาดทุน


การประยุกต์ใช้โปรแกรมทางการบัญชี
           
1.  การใช้  Excel  จำทำบัญชีรายรับรายจ่าย  ( บัญชีเงินสด )
           การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย  โดยตามหลักทฤษฎีแล้วหากทำธุรกิจแล้วต้องการเพิ่มกำไรให้มากขึ้นมีวิธีการทำอยู่  2 วิธีคือ
การเพิ่มยอดขาย
การลดค่ายใช้จ่าย
          
 2.  การใช้งาน  Excel  จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย  ( บัญชีบัตรเครดิต )
           ปัจจุบันเราคงปฏิเสธ
ไม่่ได้ว่าการใช้จ่ายของเราทุกวันนี้ยังีการใช้จ่ายหรือรายรับในรูปแบบอื่นอีก  ในที่นี้ขอแบ่งป็นรูปแบบของการใช้จ่ายออกเป็น  3 รูปแบบดังนี้
เงินสด  ( 
Cash Flow )
บัตรเครดิต
บัญชีเงินฝากในธนาคาร
           บัตรเครดิต  หมายถึง  วงเงินพร้อมใช้ไว้เสริมสภาพคล่องหรือหากจะหมายถึง  หนี้พร้อมก่อที่ต้องชำระทุกเดือน  ก็มองได้แล้วแต่ว่าจะมองในมุมไหน  แต่ในการบริหารการใช้เงินเราจะนิยามบัตรเครดิตเป็นหนี้พร้อมก่อนที่ต้องชำระทุกเดือน  ดังนั้น  การจำทำบัญชีรายรับรายจ่าย  เราจึงกำหนดช่องในการบันทึกรายการไว้ให้สอดคล้องกับการนิยามดังนี้


           รายรับ           หมายถึง           จำนวนเงินที่เราได้รับชำระคืน
           รายจ่าย         หมายถึง           จำนวนเงินที่เราใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต
           จำนวนสุทธิ   หมายถึง           รายรับ - รายจ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น