บทที่ 7 คอมพิวเตอร์กับงานด้านการเงิน


แนวคิดระบบสารสนเทศด้านการเงิน
           ระบบสารสนเทศด้านการเงินสนับสนุนผู้จัดการฝ่ายการเงินในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับ  1) การเงินของบริษัท  2) การจัดสรรและควบคุมแหล่งการเงินภายในบริษัท  ประเภทของระบบสารสนเทศทางงการเงินที่สำคัญที่รวมการจัดการเงินสดและการลงทุน  การทำงบประมาณการเงิน  การคาด
การ์ทางการเงิน  และการวางแผนทางการเงิน

           1.  การจัดการเงินสด  ( Cash Management )
           
ระบบการจัดการด้านเงินสด  รวบรวมสารสนเทศจากใบเสร็จรับเงินและการจ่ายเงินเวลาตามจริง ( Real - time )  หรือเป็นระยะเวลาสม่ำเสมอ  ข้อมูลเหล่านั้นทำให้ธุรกิจสามารถนำเข้าหรือขยายเงินทุนได้อย่างรวดเร็ว  ดังนั้น  การเพิ่มรายได้เกิดขึ้นจากเงินทุนที่นำเข้าหรือใช้ในการลงทุน  ระบบนี้ยังช่วยคาดการณ์เรื่องการรับเงินหรือเงินที่ต้องจ่ายในอนาคต  หรือการคาดการ์การไหลเวียนด้านการเงิน  ( Cash Flow Forecasts )  เพื่อตรวจตราการขาดดุลเงินสดหรือการมีรายรับมากกว่ารายจ่าย

           2.  การจัดการการลงทุนออนไลน์  (
Online Investment Management )
           
หลายธุรกิจลงเพื่อเพิ่มเงินสดระยะสั้นในตลาดที่ความเสี่ยงสูง  เช่น  พะนธบัตรของรัฐบาล  การลงทุนในบริษัทที่มีความเสี่ยงสูงแต่ให้ผลตอบแทนสูงด้วย  หรือในทางเลือกอื่นที่จะทำให้ได้รับผลตอบแทนสูงเช่นกัน

           3.  งบประมาณเงินลงทุน  ( Capital Budgeting )
           
ในกระบานการเรื่องงบประมาณเงินลงทุน  เกี่ยวข้องกับการประเมินความเป็นไปได้ในการทำผลกำไรและผลกระทบจากการใช้จ่าย  เงินทุนที่ได้วางแผนไว้  ค่าใช้จ่ายระยะยาวสำหรับเครื่องจักรกลขนาดใหญ่และเครื่องมือต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์โดยการใช้เทคนิคมากมาย  ระบบงานนี้ทำให้เกิดการใช้รูปแบบตารางทำการ  ( Spreadsheet )

           4.  การคาดการณ์และการวางแผนด้านการเงิน  ( Financial Forecasting and Planning )
           
การวิเคราะห์ด้านการเงินโดยปกติแล้ว  จะใช้ตารางทำการและซอฟต์แวร์การวางแผนด้านการเงิน  ( Financial Planning Software )  เพื่อประเมินสภาพปัจจุบันและผลการทำงานด้านการเงินของโครงการของธุรกิจ  ช่วยในการหาข้อสรุปทางด้านความต้องการด้านการเงินของธุรกิจและวิเคราะห์วิธีการอื่น ๆ ทางด้านการเงินอีกด้วย

บทบาทของระบบสารสนเทศด้านการเงิน

           ระบบสารสนเทศด้านการเงิน  (
financial system )  เปรียบเสมือนระบบหมุนเวียนโลหิตของร่างกายที่สูบฉีดโลหิตไปยังอวัยวะต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของอวัยวะแต่ละส่วนเป็นปกติ  ถ้าระบบหมุนเวียนโลหิตไม่ดีการทำงานของอวัยวะก็บกพร่อง  ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่างกาย  ระบบการเงินจะเกี่ยวกับสภาพคล่อง  ( liquidity )  ในการดำเนินงาน  เกี่ยวข้องกับการจัดการเงินสดหมุนเวียน  ถ้าธุรกิจขาดเงินทุน  อาจก่อให้เกิดปปัญหาขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม  โดยที่การจัดการทางการเงินจะมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ  3 ประการ  ดังต่อไปนี้
การพยากรณ์  (
forecast )
การจัดการด้านการเงินภายในองค์กร  ( financial management )
การควบคุมทางการเงิน  ( financial control )
           
ระบบสารสนเทศด้านการเงิน  ( financial information system )  เป็นระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสำหรับสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการเงินขององค์การ  ตั้งแต่การวางแผน  การดำเนินงาน  และการควบคุมทางด้านการเงิน  การบริหารการเงินขององค์การมีดังต่อไปนี้
ข้อมูลจากการดำเนินงาน  (
operations data )
ข้อมูลจากการพยากรณ์  ( forecasting data )
กลยุทธ์องค์การ  ( corporate strategy )
ข้อมูลจากภายนอก  ( external data )
การจัดการการเงิน
           1.  หน้าที่หลักทางการเงิน
1.1  การวิเคราะห์ทางการเงิน  แสดงจำนวนเงินที่จะเข้าสู่กิจการ  แหล่งที่มาการใช้จ่าย  
ตัวอยย่างการจำลองกระแสเงินสด
1.2  การจัดการเงินทุน  แหล่งเงินทุน  การกู้  ออกพันธบัตรเงินกู้  ออกหุ้น  รวมกิจการ  สามารถใช้แบบทดลองทางเลือกต่าง ๆ สำหรับบริหารเงิน
1.3  การตรวจสอบ  (
auditing )
เป็นไปตามแผนที่กำหนดหรือแนวทางที่กำหนด
การตรวจสอบภายใน  (
internal audit )
การตรวจสอบภายนอก  ( external audit )
           2.  แหล่งสารสนเทศทางการเงิน
2.1  ข้อมูลประมวลผลธุรกรรม
2.2  ข้อมูลการคาดการณ์ภายในจากฝ่ายต่าง ๆ
2.3  ข้อมูลเงินทุน  (
funding data )  แหล่งเงินทุน  เงื่อนไข  การปันผล  การจ่ายดอกเบี้ย
2.4  ข้อมูลกลุ่มหลักทรัพย์  (
portfolio data )  หลักทรัพย์ที่กิจการถือ  ราคาตลาดหลักทรัพย์
2.5  ข้อกำหนด
กฏเกณฑ์ของรัฐบาล
2.6  ข้อมูลสภาวะภายนอก
2.7  แผลกลยุทธ์  การกำหนดแผนการเงินจะต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของกิจการ

          
 3.  ตัวอย่างระบบสารสนเทศทางการเงิน
3.1  การจัดการเงินสดและหลักทรัพย์  (
cash / credit / investment management )
ข้อมูลเงินสดรับและออก
ใช้สำหรับการลงทุนกับเงินทุนส่วนเกิน
มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์การเก็บเงินสด  
software
3.2  
งบประมาณการลงทุน  ( capital budgeting )
การวิเคราะ์  การลงทุนโรงงาน  เครื่องจักร  อุปกรณ์  ความเสี่ยง
3.3  การวางแผนการเงิน  (
financial planning )
ประเมินสมรรถนะทางการเงินของธุรกิจ  ในปัจจุบันและที่คาดการณ์
วิเคราะห์ทางเลือกทางการเงินของกิจการ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเงินและการพาณิชย์
         
  1.  บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต
          บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต (
internet banking ) ธนาคารพาณิชย์เริ่มนำบริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ตมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยเน้นการให้บริการด้านการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือข่ายอินเตอรืเน็ตซึ่งมีรายละเอียดการให้บริการดังต่อไปนี้
          (1) บริการ
เปฺดบัญชี
          (2) บริการสอบถามยอดบัญชี , บริการขอรายการเดินบัญชี
          ยอดเงินคงเหลือในบัญชีออมทรัพย์ บัญชีเดินสะพัด บัญชีฝากประจำ บัญชีเงินฝากระยะยาว สินเชื่อส่วนบุคคล
Speedy Loan และสินเชื่อเพื่อการเคหะ ( Mortgage ) หรือ ดูใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์และบัตร Speedy Cash ผ่านบริการ e-Bill
          (3)
บริการโอนเงิน
          ระหว่างบัญชีของตนเอง บัญชีบุคคลอื่นทั้งบัญชีไทยพาณิชย์ บัญชีค่างธนาคาร หรือโอนเงินต่างประเทศ

          
จุดเด่นด้านบริการ
สามารถสมัครใช้บริการได้ด้วยตนเองตลอด 24 ชม. โดยไม่ต้องเดินทางไปสาขา
เพิ่มบัญชีผู้รับโอนได้ด้วยตนเอง ด้วยระบบ
One Time password ( OTP )
มีระบบรักษาความปลอดภัยของของข้อมูล ด้วยการเข้ารหัสข้อมูล ( Data Encryption ) ด้วย Secured Socket layer ( SSL ) 128 bits
เรียกดูใบแจ้งยอดบัตรเครดิตไทยพาณิชย์และบัตร Speedy Cash ได้ตลอดเวลาผ่านบริการ e-Bill
ขำระค่าสินค้า/บริการได้ถึกว่า 1,000 กว่าร้านค้า รวมถึงบริการเติมเงินมือถือ
โอนเงินระหว่างบัญชีตนเอง บุคคลอื่นใน
SCB และต่างธนาคารแบบเข้าบัญชีทันที/ตั้งเวลาหักบัญชีล่วงหน้า
          (4) บริการชำระค่าสิน้าและบริการ
          ทั้งเติมเงิน
ดทรศัพท์มือถือ บัตรเครดิต ค่างวดเงินกู้/เช้าซื้อ ค่าสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการจ่ายค่ากวดวิชาออนไลน์ ฯลฯ
           (5) สมัครบริการบัตรเครดิตและอนุมัติเบื้องต้น
           เป็นการสมัครผ่านระบบอินเตอร์เน็ต แทนการไปสมัครที่ธนาคาร โดยทำการกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด และรอการอนุมัติจากทางธนาคาร โดยไม่ต้องออกไปข้างนอก
         
           2. ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Payment )
           
ในชีวิตประจำวันของประชาชนมีความเกี่ยวข้องกับการชำระเงินอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า/บริการ การโอนเงิน หรือการทำธุรกรรมการเงินอื่นใด การขยายตัวของเศรษฐกิจและความก้างหน้าททางเทคโนโลยีเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การบริการด้านการชำระเงินมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบการชำระเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น การให้บริการมีความรวดเร็วและคล่องตัวมากขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและประชาชน และมีผู้ให้บริการรายใหม่ ๆ เกิดขึ้น รวมทั้งมีการนำเอากระบวนการชำระเงินเข้าไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกกันว่า ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Payment )
           Electronic Payment system (
ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ) คือกระบวนการส่งมอบหรือโอนสื่อการชำระเงินเพื่อชำระราคา โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคม โทสาร โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

           
ขั้นตอนการชำระเงิน
ตกลงซื้อสินค้า กรอกข้อมูลบัตรเครดิต *ข้อมูลส่วนนี้ทางร้านไม่สามารถเห็นได้
ส่งข้อมูลไปยัง
Acquiring Bank ( ธนาคารที่ฝ่ายร้านค้าใช้บริการอยู๋ )
Acquiring Bank ทำการตรวจสอบมายังธนาคารผู้ออกบัตร ว่าบัตรเป็นของจริงและสามารถใช้ได้
Acquiring Bank ทำการเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้ออกบัตร
ธนาคารผู้ออกบัตรโอนเงินไปยัง
Acquiring Bank เข้าสู่บัญชีร้านค้า
ส่งข้อมูลการชำระเงินกลับไปยังร้านค้า
ร้านค้าส่งข้อมูลการชำระกลับไปยังลูกค้าเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ
          
 E - Payment มีกระบวนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ดังนี้
สั่งซื้อและส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัตรเครดิตไปให้ผู้ขาย
ผู้ขายยืนยันส่งข้อมูลการสั่งซื้อกลับมายังผู้ซื้อ
ผู้ขายรับข้อมูลการสั่งซื้อ (มองไม่เห็นเลขบัตรเครดิต)
ผู้ขายส่งข้อมูล
Encrypted Payment ไปยังเครื่องบริการด้านการจ่ายเงินทาง online (Cyber Cash Server)
Cyber Cash Server
รับข้อมูลผ่านทาง Fire wall ถอดรหัสข้อมูลลูกค้าและส่งไปยังธนาคารผู้ขายและผู้ซื้อ
ธนาคารผู้ขายร้องขอให้ธนาคารผู้ซื้อรับจ่ายเงินตามจำนวนเงินตามยอดบัตรเครดิต
ธนาคารผู้ซื้อตรวจสอบข้อมูล แล้วส่งกลับไปว่า
อนุมัตืหรือไม่ และ transfer ยอดเงินให้ผู้ขาย
Cyber Cash Server รับข้อมูลส่งต่อไปยังผู้ขายเพื่อส่งข้อมูลไปยังผู้ซื้อต่อไป
           
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มี 4 ประเด็น คือ
           (1) การบริการลูกค้า เทคโนโลยีต้องเข้าถึงได้ง่ายและเป็นมิตรกับประชาชน ลดขั้นตอนทางราชการที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้สารสนเทศที่ทันสมมัยและตรงกับความต้องการ
           (2) การออกแบบและประเมินผล บริการต้องมีการบริหารจัดการที่ดีและรักษาระบบให้มีเสถียรภาพแม้ในภาวะวิกฤต กำหนดนโยบายและกระบวนการรับข้อร้องเรียนที่ชัดเจน ติดตามผลและปรับปรุงระบบ ช่วยสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง
           (3) ความมั่นคง-ปลอดภัย บริการต้องอำนวยความสะดวกในการธุรกรรมออนไลน์ และให้ความสำคัญสูงสุดต่อความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคล
           (4) การเห็นคุณค่าและความสำคัญ บริการที่ดีต้องให้ความสำคัญในลำดับสูงสุดจากทุกภาคส่วน ผู้นำประเทศ นักการเมืองท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ระดับสูง และพนักงานของรัฐ ต้องให้การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และตอบข้อสงสัยแก่ประชาชนผ่านการสื่อสารสองทางอย่างประสิทธิภาพ
           (5) การรักษาความปลอดภัย
ความต้องการการรักษาความปลอดภัย (
security requirements ) มีองค์ประกอบ ดังนี้
ความสามารถในการระบุตัวตนได้  (
Anthentication )
ความเป็นหนึ่งเดียวของข้อมูล  ( Integriry )
ความไม่สามารถปฏิเสธได้  ( Non-repudiation )
สิทธิส่วนบุคคล  ( Privacy )
วิธีการรักษาความปลอดภัย
การใช้รหัส  (
Encryption )
ใบรับรองทางอิเล็กทรอนิกส์  ( Electronic certificate )
โปรโตคอล  ( Protocols )
ประโยชน์  e - payment ในองค์กร
การสั่งชำระเงิน  และการรับชำระเงินมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพด้านการบริหารการเงิน
ลดความผิดพลาดในการกรอกข้อมูลการทำรายการ
การยืนยันการตัดบัญชีและการนำเงินเข้าบัญชี
เสริมสร้างความคล่องตัวในการทำงาน
           3.  การบริหารจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง
           บริษัทให้บริการคลังสินค้าในลักษณะที่ทำให้ลูกค้าสามารถเพิ่มขีดการแข่งขันจากต้นทุน  
ซัพพลายเชนที่สามารถควบคุมได้  ความชัดเจนของข้อมูลและความไวในการตอบสนอง บริษัทสามารถลดเวลาในการตักเคลื่อนย้ายสินค้าและการจัดการสินค้าในคลังลง 30%  ถึง  50%  การบวนการจัดการคลังสินค้าของบริษัทสามารถควบคุมความแม่นยำของสินค้าคงคลังของลูกค้าได้ในระดับ  99.99%  ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงและสามารถส่งสินค้าให้ลูกค้าตามใบสั่งได้ครบถ้วนมากขึ้น
           3.1  การส่งสินค้าไปยังจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้า  (
Cross - docking )
           
การจัดการสินค้าแบบ  Cross - docking  หรือการส่วสินค้าไปยัววจุดจ่ายทันทีที่รับสินค้าโดยไม่เก็บสต๊อกในคลัง  ทำให้สินค้าของลูกค้าเคลื่อนที่ได้อย่างต่อเนื่อง
           3.2  การบริหารจัดการสินค้าคงคลังทันทีที่รับสินค้าเข้ามาในคลังสินค้า
           ระบบจัดการคลังสินค้าที่บริษัทมีอยู่จะทำการเลือกตำแหน่งที่เก็บในคลังสินค้าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสินค้านั้นด้วยความระมัดระวังและภายในเวลาอันเหมาะสม

การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน
           สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงินได้นั้น  อาจพัฒนาขึ้นโดยการเขียนโปรแกรมไว้ใช้งานด้วยตนเอง  หรืออาจเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาใช้งานได้ทันทีก็เป็นได้   ซึ่งหนึ่งในโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมและถูกนำมาใช้กับการบริหารการเงินอย่างแพร่หลาย  ก็คือโปรแกรม  
Microsoft Excel  นั่นเอง
           โปรแกรม  
Microsoft Excel  นั้นถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารการเงิน  ทั้งในด้านการจัดทำรายงานการเงิน  การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน  การหามูลค่าของเงินตามเวลาการพยากรณ์  และวางแผนทางการเงิน  ทั้งนี้เพราะ  Microsoft Excel  เป็นโปรแกรมประเภทกระดาษคำนวณ  ( Spread Sheet )  
ซึ่งช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลประเภทตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น